Latest Post

Thursday, September 3, 2009

ศูนย์วัฒนธรรมจีนยูนาน (ปาย)

|0 ความคิดเห็น

            หมู่บ้านศูนย์วัฒนธรรมยูนาน บ้านสัติชล อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสน เป็นพื้นที่ที่เคยถูกมองว่าเป็นสีแดง เขตค้ายาเสพย์ติดของว้าแดงมาก่อน มีชาวเขาบ้านสันติชลเชื้อสายจีนพักพิงอยู่กว่า 1,000 ชีวิต คุณ บุญหล่อ หล่ออริยวัฒน์ ผู้นำหมู่บ้าน หน้าหมู่บ้านเป็นที่ตั้งของศูนย์วัฒนธรรมยูนาน ซึงมีบ้านดิน ที่ตั้งเรียงรายอยู่ ร้านค้าของที่ระลึกที่ทำจากบ้านดิน อาคารร้านอาหารจีนยูนาน และมีก้อนหิน สลักชื่อภาษาจีนตัวใหญ่ๆ วางเด่นเป็นสง่า ด้านหลังก้อนหินใช้เป็นเวทีกลางแจ้ง ที่จอดรถอยู่ด้านหน้าศูนย์ฯ ถ้าเดินเลยเข้าไปภายในศูนย์ฯ จะพบว่า มีบริการที่พัก ที่สร้างจากบ้านดิน ภายในจัดเป็นบ้านเป็นหลังๆ วางอยู่หลายหลัง มีศาลากลางน้ำนอนพักผ่อนเย็นสบาย


            ภายในบ้านพัก ซึ่งสอบถามราคามาแล้ว คิดราคาอยู่ที่ 1,200 บาท/คืน ต่อหลัง ซึ่งพักได้ 2 คน ภายในมีเตียงขนาดใหญ่1เตียง ห้องน้ำอย่างดี มีน้ำอุ่น เดินมาที่ด้านหน้าศูนย์ มี ชิงช้า ที่ดูคล้ายชิงช้าสวรรค์ ที่ทำจากไม้ และมีกิจกรรมสำหรับเด็กๆอีกอย่างหนึ่ง ที่เด็กคงจะชอบ คือการขี่ม้า รอบก้นหินใหญ่ คิดราคา 3รอบ 50 บาท ถ้าใครอยากขี่ม้าเข้าหมู่บ้าน สันติชล 1ชั่วโมง 300 บาท วิถีชีวิตของชาวจีนยูนานที่อพยพลงจากดอย มาตั้งรกรากอยู่แถบนี้ ได้ปรับตัวกลายเป็น หมู่บ้านท่องเที่ยว ไปเรียบร้อยแล้ว นับจากทางการได้ส่งทหารเข้ามาเคลียร์ความสงบเรียบร้อย และประจำการอยู่ตั้งแต่ปี 2546 บุญหล่อ ผู้นำชุมชนได้ทำแผนฟื้นฟูอาชีพหลัก ให้สมาชิกทั้งหมู่บ้าน หันมาทำ ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ลงทุนเปิดร้านอาหารยูนาน รับจัดเลี้ยงโต๊ะจีน และจัดทำของที่ระลึกขายนักท่องเที่ยว จากเดิมที่ชาวบ้านต้องหวาดผวาเสี่ยง กับการเป็นแหล่งค้ายาเสพย์ติด แต่ทุกวันนี้ชีวิตทั้งหมดเปลี่ยนจนหมดแล้วบรรยากาศในหมู่บ้านจำลอง อยู่บนลานวัฒนธรรมยูนาน มีร้านอาหารยูนานเปิดให้บริการทุกวัน แต่ละเมนูล้วนถูกปากนักท่องเที่ยว มีครัวเปิด เห็นวิธีปรุง และการแต่งกายที่ยังคงเอกลักษณ์กลิ่นอายชาวเขา ผู้มีวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงาม ต้นแบบการพัฒนาหมู่บ้านเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่มีวิธีการจัดการเหลือเชื่อ ทั้งเรื่องความสะอาด การต้อนรับ และการพัฒนา
 
        ในอนาคตอันใกล้ หากชาวบ้านเริ่มเชื่อมั่นในความจริงใจ ของนักท่องเที่ยวจากภายนอก ที่นอกจากจะหาความสุขสงบ บางส่วนยังนำวัฒนธรรมแปลกๆ เปลี่ยนวิถีชุมชนให้หมดไป บุญหล่อบอกว่า อยากให้ศูนย์แห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน จึงต้องพัฒนาแบบค่อยเป็นค่อยไป อีกไม่นานอาจจะได้ทำโครงการโฮมสเตย์ สนนราคาพักประมาณ 200-600 บาท/คืน

Tuesday, September 1, 2009

บ้านแม่สวรรค์น้อย

|0 ความคิดเห็น
บ้านแม่สวรรค์น้อย หมู่ที่ 12 ตำบลแม่เหาะ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นชุมชนที่ตั้งหมู่บ้านมานานประมาณ 100 ปี มีการโยกย้ายการสร้างบ้านเรือน ในบริเวณที่ใกล้เคียงกัน ในอดีตเป็นชุมชนขนาดเล็ก ย้ายมาจากบ้านแม่เหาะ มาตั้ง รกรากกันไม่กี่หลังคาเรือน ใกล้กับทุ่งบัวตอง แต่เดิมนับถือผีสาง นางไม้ ปัจจุบัน มีการนับถือศาสนาคริสต์
สภาพทั่วไปทางภูมิศาสตรเป็นหมู่บ้านตั้งอยู่ในหุบเขา ใกล้ลำห้วย มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ ในอดีตเป็นป่าดงดิบ มีสัตว์ป่าชุกชุม เช่น เสือ หมู่ป่า เก้ง ลิง ชะนี และหมู่บ้านตั้งอยู่ใกล้เชิงเขา
สถานที่ท่อเที่ยว : น้ำตกแม่สวรรค์น้อย เป็นน้ำตกขนาด 3 ชั้น ซึ่งมีความสูงและสวยงามมาก ดอยสิงห์ เป็นดอยที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1400 เมตร สามารถขึ้นไปชมวิวทิวทัศน์ ชมทะเลหมอก พระอาทิตย์ขึ้นยามเช้า เย็น ชมดอกชมพูดอยสิงห์ นกนานานิด เหมาะมากกับการแค้มปิ้งค้างคืน

หมู่บ้านห้วยผึ้งใหม่

|0 ความคิดเห็น
บ้านห้วยผึ้ง หมู่ที่ 7 ตำบลแม่โถ อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง ตั้งมานานประมาณ 45 ปี ปัจจุบันมีประชากร 51 หลังคาเรือน 96 ครอบครัว จำนวน 461 คน ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธรองลงมาเป็นศาสนาคริสต์
สภาพทั่วไปทางภูมิศาสตร์ เป็นพื้นที่สูงมีป่าเขา น้ำตก และธรรมชาติยังคงความ อุดมสมบูรณ์ มีอากาศหนาว เย็นสบายตลอดปี มีถนนสามารถเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งมีน้ำตก 2 แห่ง และชมประเพณีวัฒนธรรมชนเผ่ายังคงสภาพดั่งเดิม อาณาเขตพื้นที่หมู่บ้าน ทิศเหนือ ติดกับดอยหลวง ทิศใต้ติดกับบ้านห้วยผึ่งกะเหรี่ยง น้ำตกผาผึ้ง ทิศตะวันออกติดกับบ้านขุนแม่ลาน้อย ทิศตะวันตกติดกับดอยตะโลไทย
ระยะทางจากหมู่บ้านสถานที่ท่องเที่ยว ดอยตะโลไทย ระยะทาง 3 กิโลเมตร น้ำตกผาลั้ง ระยะทาง 6 กิโลเมตร น้ำตกไอสวรรค์ ระยะทาง 5 กิโลเมตร
งานเทศกาลของหมู่บ้าน งานเทศกาลปีใหม่ (กินวอ) จัดขึ้นประมาณเดือนธันวาคม ถึงเดือนมกราคมของทุกปี สถานที่จัดงาน บริเวณสนามโรงเรียนของหมู่บ้าน การแสดงประกอบด้วย การเล่นลูกข่าง ยิงหน้าไม้ โยนลูกช่วง เป่าแคนม้ง ร้องเพลงม้ง เต้นรำม้งประยุกต์ เป่าขลุ่ยม้ง และการละเล่นพื้นเมืองอื่น ๆ อีกมากมาย
สถานที่ท่องเที่ยว: น้ำตกผาผึ้ง เป็นน้ำตกจำนวน 13 ชั้น สามารถชมและสัมผัสธรรมชาติ ได้ในทุก ๆ ชั้น ของน้ำตก ใช้เวลาในการเดินเที่ยว 3 ชั่วโมง ชมน้ำตก ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ และชมผาเงิบ ชมหินงอก หินย้อย และต้นไม้ใหญ่ น้ำตกไอสวรรค์ เป็นน้ำตกที่มีความงดงาม มีน้ำตก 3 ชั้น ชมน้ำตกและป่าไม้ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และระหว่างเส้นทางเดิน ไปน้ำตกชมไร่กะหล่ำ ไร่แครอท และการทำนาแบบขั้นบันได ตามแบบวิถีชีวิตของเกษตรกรชนเผ่าของหมู่บ้าน
กิจกรรมการแสดงในศูนย์วัฒนธรรม หรือศูนย์แสดงกิจกรรมของหมู่บ้าน ประกอบด้วย การแสดงวัตถุศิลป์ในศูนย์วัฒนธรรมและข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวของหมู่บ้าน แสดงการยิงหน้าไม้ การเต้นรำม้งประยุกต์ การเล่นลูกช่วง และการเป่าแคนม้ง และกิจกรรมสำหรับนักท่องเที่ยวในหมู่บ้าน ประกอบด้วย กิจกรรมการโม่ข้าวโพด การตำข้าวด้วยครกกระเดื่อง การเล่นลูกข่าง การยิงหน้าไม้ กิจกรรมการท่องเที่ยวของหมู่บ้าน ปลายเดือนธันวาคม จัดเทศกาลปีใหม่ม้ง เทศกาลกินวอ

Monday, August 17, 2009

บ้านเด่นยางมูล

|0 ความคิดเห็น
บ้านเด่นยางมูล หมู่ที่ 12 ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านบ้านเด่นยางมูล เมื่อประมาณ พ.ศ. 2506 ชุมชนพระบาทห้วยต้ม ยังไม่เป็นหมู่บ้านทางการ ซึ่งตั้งอยู่กลางป่า ขึ้นกับหมู่บ้านนาเลี่ยง หมู่ที่ 1 โดยมีหลวงปู่ครูบาวงศ์ษา มาจำพรรษาอยู่ที่นี่ ก่อนท่านจะได้มาจำพรรษาอยู่ที่นี่ ท่านเคยจาริวัดพระบาทห้วยต้มก ธุดงธ์ไปตามหมู่บ้านชาวเขาต่าง ๆ เช่นจังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน ทำให้เป็นที่รู้จักของชาวเขา และเป็นที่ เคารพนับถือเลื่อมใสศรัทธา
ต่อมาปี 2514 มีชาวเขา ตำบลแม่ตื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่จำนวน 18 ครอบครัว 65 คน ต่อมาปี 2518 มีผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือ นายพะบือวา ผ่องพรรณเจริญ ปี 2523 ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านดีเด่น และได้รับพระราชทาน แหนบทองคำ ต่อมาปี 2525-2528 ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 2 คือ นายลาซอ เริ่มตระกูลใหม่ ปี 2528-2530 ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 3 นายนุ ภูมิวนาดอน
สภาพทั่วไปทางภูมิศาสตร์ ทิศเหนือติดต่อกับบ้านแพะหนองห้า ทิศใต้ติดกับ บ้านแม่หละ ทิศตะวันออกติดกับบ้านนาเลี่ยง ทิศตะวันตกติดกับบ้านผาใต้ สถานที่ท่องเที่ยวของหมู่บ้านจากบ้านพระบาทห้วยต้ม จุดบ่อขุดหินศิลาแลง ระยะทาง 2 กิโลเมตร กลุ่มตีเหล็ก ระยะทาง 2 กิโลเมตร กลุ่มทำเครื่องเงิน ระยะทาง 3 กิโลเมตร
งานเทศกาล งานอเมซซิ่งกะเหรี่ยง จัดขึ้นวันที่ 14 มกราคม ของทุกปี บริเวณ ลานแสดงกลางหมู่บ้าน การแสดงในงานประกอบด้วยการรำปั่นฝ้าย การฟ้อนดาบ การเป่า เขาควาย และการเล่นเตหน่า (เครื่องดนตรีชนเผ่า) สินค้าประเภทหัตถกรรมของหมู่บ้านได้แก่ ผ้าซิ่นลายกะเหรี่ยง ถุงย่าม ผ้าปูโต๊ะ เสื้อเย็บด้วยมือ และเครื่องเงิน วิถีชาวปากะญอ (กะเหรี่ยง)ประกอบด้วยสร้อยคอลายผสมผสาน กำไล และแหวน ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในหมู่บ้านกลุ่มทอผ้าบ้านเด่นยางมูล เลขที่ 71 หมู่ 12 ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน กลุ่มทำเครื่องเงิน เลขที่ 62 ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
การเดินทางไปหมู่บ้านท่องเที่ยวอาศัยรถประจำทาง สายลี้-ห้วยหญ้าไทร ออกจากสถานีขนส่งลี้ ใช้เวลาการเดินทางประมาณ 30 นาที และหากเดินทาง โดยรถยนต์ส่วนตัว จากอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ใช้ทางหลวงหมายเลข 106 ผ่านที่ว่าการ อำเภอลี้ ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร
สถานที่ท่องเที่ยวบ้านพระบาทห้วยต้ม ประกอบด้วย ชมกิจกรรมและวิถีชีวิตชนเผ่า การขุดศิลาแลง ชมพระธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย วัดพระบาทห้วยต้ม กลุ่มหัตถกรรมเครื่องเงิน กลุ่มตีเหล็ก และกลุ่มทอผ้า ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงพระบาทห้วยต้ม ชมสวนและไร่นาสวนผสม แปลงเกษตรม่วงพันธุ์ ต่างประเทศ แปลงสาธิตพืชผักสมุนไพร สถานที่พัก ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงพระบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน อุทยานแห่งชาติแม่ปิง ตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

บ้านแม่แรม

|0 ความคิดเห็น
บ้านแม่แรม หมู่ที่ 12 ตำบลเตาปูน อำเภอสอง จังหวัดแพร่ เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวแหล่งนี้มีชาวเขาเผ่าม้งอาศัยอยู่จำนวน 1,499 คน นับถือผีเป็นส่วนใหญ่ นับถือศาสนาคริสต์เป็นรอง รอบหมู่บ้านมีป่าไม้ล้อม รอบและสวนสมุนไพรธรรมชาติและมีอาชีพทำการเกษตร สภาพทั่วไปทางภูมิศาสตร์ หมู่บ้านตั้งอยู่บริเวณเนินเขาสลับกับที่ราบ ลักษณะป่าไม้เป็นแบบร้อนชื้น สภาพภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้น
เทศกาลปีใหม่ ม้ง จัดขึ้นประมาณเดือน ธันวาคม ถึงเดือน มกราคม ของทุกปี บริเวณสนามกีฬาหมู่บ้าน มีการแดสงประกอบด้วย โยนลูกช่วงระหว่างหนุ่ม-สาว การตีลูกข่าง การแสดงสีสันตระการตาของหนุ่มสาวเผ่าม้ง มีงานประเพณี กินข้าวใหม่ จัดขึ้นเดือน พฤศจิกายน ในงานมีกิจกรรมฆ่าหมูฆ่าไก่และทำพิธีกินข้าวใหม่ โดยทำพิธีเรียกพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ที่เสียชีวิตแปล้วมากินข้าวก่อน แล้วเจ้าของ บ้านค่อยกินที่หลัง
สถานที่ท่องเที่ยว ศูนย์วัฒนธรรม ชีวิตการเป็นอยู่ของชาวเขา รายละเอียด กลุ่มเขียนผ้าลายเทียน กลุ่มตัดผ้าดอกลายหอย สมุนไพรธรรมชาติ ป่าชุมชน โรงงานสมุนไพรข้าวโพด น้ำตกและถ้ำลมเย็น การเดินทางไปหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยรถยนต์โดยสารประจำทาง บ้านแม่แรม-แพร่มีรถประจำทางสาย 1182 ออกจากบ้านแม่แรม - แพร่ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง โดยรถยนต์ส่วนตัว จากแม่แรม-แพร่ ผ่านสถานที่สำคัญ ร้องกวาง-ถ้ำผานางคอย จังหวัด แพร่ ระยะทางประมาณ 74 กิโลเมตร

บ้านปางปุเลาะ

|0 ความคิดเห็น
บ้านปางปุเลาะ หมู่ที่ 13 ตำบล ศรีก้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าเย้า ปัจจุบันมีประชากร 46 หลังคาเรือน 56 ครอบครัว 234 คน อาชีพเกษตรกรรมและรับจ้าง นับถือศาสนาพุทธ และคริสต์ ประวัติความเป็นมา ก่อตั้งหมู่บ้านเมื่อ ปี 2513 และได้รับประกาศเป็นหมู่บ้านตามกฎหมาย ในปี 2530 สภาพทั่วไปทางภูมิศาสตร์ เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนยอดเขาสูง จากระดับน้ำทะเล ประมาณ 300 เมตร
อาณาเขตพื้นที่หมู่บ้านทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านผาแดง ทิศใต้ ติดต่อกับ อ.วังเหนือ ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อ.แม่ใจ ทิศตะวันตกติดต่อกับ อ.วังเหนือ ระยะทางจากหมู่บ้าน ไปถ้ำประกายเพชร เป็นระยะทาง 1.5 กม. ภูผาแดง เป็นระยะทาง 3.5 กม. ส่วนป่าไม้เกี้ยะ เป็นระยะทาง 2.0 กม. ระยะทางห่างจากตัวจังหวัดพะเยา อำเภอเมือง ระยะทาง 35 กิโลเมตร
เทศกาลลิ้นจี่ของดีจังหวัดพะเยา จัดขึ้นประมาณเดือน พฤษภาคม ถึงเดือน มิถุนายน ของทุกปี บริเวณเขตฯ ปางปุเลาะ มีการแสดงประกอบด้วย แข่งจักรยานเสือภูเขาเข้าสวน ประกวดลิ้นจี่พันธ์ดี เที่ยวสวนลิ้นจี่ งานประเพณีตรุษจีน จัดขึ้นเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ในงานมีกิจกรรม ประเพณีปีใหม่ชาวไทยภูเขา การต้อนรับแขก ปฎิทินการท่องเที่ยวของหมู่บ้าน มกราคมถึงกุมภาพันธ์ งานเทศกาลตรุษจีน พฤษภาคม เทศกาลชมสวนลิ้นจี่ พฤศจิกายน ชมทะเลหมอกยามเช้า ผลิตภัณฑ์แนะนำของหมู่บ้าน ขอแนะนำผ้าปักลายชาวเขา ผลิตภัณฑ์หญ้าแฝก (ตะกร้า) ร้านค้าชุมชนในหมู่บ้านปางปูเลาะ ตำบลศรีก้อย อ.แม่ใจ จ.พะเยา
สถานที่ท่องเที่ยวของหมู่บ้าน ส่วนลิ้นจี่ 600 ไร่ เป็นสวนรอบบริเวณหมู่บ้าน ชาวเขาปางปุเลาะ และถ้ำประกายเพชร เป็นถ้ำที่เกิดตามธรรมชาติ ห่างจากหมู่บ้าน ประมาณ 1.5 กิโลเมตร เส้นทางเดินเท้าประมาณ 500 เมตร สถานที่พักแรมในหมู่บ้านเป็นบ้านพักพื้นบ้านชาวเขา

บ้านโละโคะ

|0 ความคิดเห็น
บ้านโละโคะหมู่ที่ 10 ตำบล โกสัมพี อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร เป็นหมู่บ้านชาวเขา ตั้งหมู่บ้านเมื่อปี พ.ศ. 2348 ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติวังเจ้า ตั้งอยู่บนพื้นที่สูง สูงจากระดับน้ำทะเล 500 เมตร ประชากรชาวเขา ประกอบด้วย ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงและม้ง ปัจจุบันมีประชากรอาศัยอยู่ จำนวน 93 หลังคาเรือน 103 ครอบครัว 616 คน มีอาชีพการเกษตร นับถือศาสนาพุทธ และคริสต์เป็นบางส่วน สภาพทั่วไปทางภูมิศาสตร์ สภาพทั่วไปเป็นภูเขาที่ไม่สูงชันเท่าไหร่
เทศกาลปีใหม่ จัดขึ้นประมาณเดือนธันวาคม หรือเดือนมกราคมของทุกปี บริเวณสนามกลางในหมู่บ้าน มีการแสดงประกอบด้วย การโยนลูกช่วง การตีลูกข่าง เทศกาลก่อเจดีย์ทราย เทศกาลสงกรานต์ และ การแสดงต่าง ๆ งานประเพณีผูกข้อมือ ในงานมีกิจกรรมแขกผู้มาเยือนหมู่บ้าน ผิลิตภัณฑ์แนะนำ เป็นผ้าลายกระเหรียง ผ้าปักชาวเขา ผ้าเขียนลานขี้ผึ้งชาวเขา

สถานที่ท่องเที่ยว น้ำตกคลองโป่ง ต้นไทรใหญ่ ชุมชน สถานที่พักแรม บ้านพักกึ่งโฮมสเตร์ บ้านโละโคะ ตำบลโกสัมพี อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

บ้านป่าคา

|0 ความคิดเห็น
บ้านป่าคา หมู่ที่ 8 ตำบล โป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน (ท่องเที่ยว) บรรพบุรุษได้นำลูกหลานมาอยู่ตั้งแต่ปี 2475 และต่อมาในปี 2482 ทางการได้ประกาศ ตั้งหมู่บ้านใหม่ในปี 2482 เป็นหมู่บ้านถูกต้องเป็นทางการ ให้ชื่อว่าบ้านผู้ใหญ่ยี ปัจจุบันก็เป็นบ้านผู้ใหญ่ยีอยู่แต่ทางการเรียกว่า บ้านใหม่ชุมชนไทร อาชีพหลัก ทำการเกษตร ปัจจุบันมีประชากร จำนวน 107 หลังคาเรือน 169 ครอบครัว 880 คน สภาพทั่วไปทางภูมิศาสตร์ สภาพทางภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ราบสูงมีบางส่วนเป็นภูเขาไม่สูงชั้นมากนัก หมู่บ้านตั้งอยู่ในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 800 เมตร หมู่บ้านอยู่ห่างจากตัวจังหวัด อำเภอเมือง ระยะทาง 96 กิโลเมตร
เทศกาลปีใหม่ม้ง จัดขึ้นประมาณเดือนธันวาคม หรือเดือนมกราคมของทุกปี บริเวณสนามกลางหมู่บ้าน มีการแสดงประกอบด้วย การโยนลูกช่วง การตีลูกข่าง การละเล่นและการแสดงต่าง ๆ ผลิตภัณฑืแนะนำ เป็นผ้าปักลายชาวเขา ผ้าเขียนลายขี้ผึ้งชาวเขา
สถานที่ท่องเที่ยว น้ำตก น้ำพุร้อน ถ้ำ ทัวร์ป่า (เดิน) เช้าเย็น สถานที่พักแรม : บ้านพักกึ่งโฮมสเตร์ บ้านป่าคา ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

Sunday, August 16, 2009

บ้านห้วยน้ำริน

|0 ความคิดเห็น
หมู่บ้านห้วยน้ำริน หมู่ที่ 1 ตำบลทุ่งปี้ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง ประวัติความเป็นมาบ้านห้วยน้ำริน ตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2525 โดยย้ายมาจาก หมู่ที่ 6 บ้านห้วยเนียม ตำบลดอนเปา อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ในอดีตที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยว เข้ามาเที่ยวในลักษณะทัวร์ป่า มักจะค้างคืนพอรุ่งเช้าอีกวันหนึ่งจะเดินทางไปยังหมู่บ้านห้วยหอย ซึ่งห่างจากบ้านห้วยน้ำริน ประมาณ 10 กิโลเมตร แต่ปัจจุบันนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวในลักษณะ ไปกลับ ปัจจุบันมีประชากร จำนวน 35 หลังคาเรือน 41 ครอบครัว 212 คน มีอาชีการเกษตร และรับจ้าง ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ และพุทธรองลงมา
สภาพทั่วไปทางภูมิศาสตร์ของหมู่บ้านห้วยน้ำริน ตั้งอยู่ในหุบเขา ล้อมรอบด้วยภูเขา และมีป่าอุดมสมบูรณ์ ด้วยพันธุ์ไม้ต่าง ๆ รอบหมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านตั้งบนพื้นที่สูง อยู่สูง จากระดับน้ำทะเล 500 เมตร ภายในหมู่บ้านมีร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์จาก คนในชุมชน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชนเผ่าม้ง และมีการแต่งกายด้วยชุดประจำเผ่า
อาณาเขตพื้นที่ของหมู่บ้าน ทางทิศเหนือ ติดต่อกับ กับป่าเขา ทิศใต้ติดกับป่าเขา ทิศตะวันออก ติดต่อกัเขตพื้นที่อำเภอแม่วาง ทิศตะวันตกติดกับบ้านห้วยหอย ระยะทางจากอำเภอแม่วาง ไปยังหมู่บ้านห้วยน้ำริน ระยะทาง ประมาณ 8 กิโลเมตร ระยะทางจากบ้านห้วยน้ำริน ไปยังปางช้าง ระยะทาง 10 กิโลเมตร และจากบ้านห้วยน้ำริน ไปยังสถานที่ล่องแพ ระยะทาง 9 กิโลเมตร
งานเทศกาลปีใหม่ ของหมู่บ้านห้วยน้ำริน เป็นการจัดงานปีใหม่ของชนเผ่าม้ง จัดขึ้นระหว่าง เดือนธันวาคม- มกราคม ของทุกปี การจัดงานจัดในหมู่บ้าน กิจกรรมการแสดงจะประกอบด้วย การเล่นลูกข่าง การโยนลูกฝ้าย (ลูกช่วง) การเป่าแคนม้ง การเต้นรำ ขับร้องเพลงประจำเผ่า
สินค้าพื้นเมือง ของหมู่บ้าน ได้แก่ผ้าลายม้งสำหรับปะเสื้อ ผ้าปูโต๊ะลายกะเหรี่ยง ผ้ารองแก้วลายม้ง ประเภทเครื่องเงิน ได้แก่สร้อยคอ สร้อยข้อมือ และกำไลมือ เป็นต้น ร้านค้าที่จำหน่ายเป็นร้านค้าศูนย์วัฒนธรรมของหมู่บ้าน
ปางช้างแม่วาง ตั้งอยู่ที่บ้านสบวัน ตำบลแม่วัน อำเภอแม่วาง ปางช้างแห่งนี้ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่วาง ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร ล่องแพแม่วาง สถานที่ลงแพตั้งอยู่ที่ หน่วยรักษาพันธุ์สัตว์ป่า บ้านสบวิน ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่วาง ระยะทาง ประมาณ 11 กิโลเมตร
กิจกรรมการท่องเที่ยวของหมู่บ้าน การเดินป่า เส้นทางการเดินป่า เดินชมสวนป่าที่บริเวณใกล้ หมู่บ้าน ซึ่งอุดมด้วยพันธุ์ไม้นานาพันธุ์ การเตรียมตัวก่อนเดินป่า ควรแต่ชุดให้เหมาะสมกับการเดินป่า เพื่อความสะดวก และเส้นทางรวมทั้งแผนที่เส้นทาง สอบถามได้จากกรรมการหมู่บ้าน
การเดินทางไปหมู่บ้านห้วยน้ำริน โดยรถยนต์โดยสารประจำทางสายเชียงใหม่-แม่วาง ใช้เวลาเดินทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ ประมาณ 1 ชั่วโมง เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว เริ่มจากอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ใชทางหลวงหมายเลข 108 ถึงทางแยกอำเภอสันป่าตอง แยกเข้าทางอำเภอเม่วาง ผ่านที่ว่าการอำเภอแม่วาง ระยะทาง ประมาณ 43 กิโลเมตร

บ้านสันเจริญ

|0 ความคิดเห็น
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน บ้านสันเจริญ หมู่ ุ6 ตำบลผาทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าเย้า ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวน มีสถานที่หลายแห่งได้รับการพัฒนาเป็นหมู่บ้าน ท่องเที่ยว เมื่อปี พ.ศ. 2541 ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา จังหวัดน่าน และ อบต.ผาทอง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ปัจจุบันมีประชากร จำนวน 98 หลังคาเรือน 121 ครอบครัว 535 คน อาชีพการเกษตร นับถือศาสนาพุทธ และคริสต์
สภาพทั่วไปทางภูมิศาสตร์ สภาพทั่วไปของบ้านสันเจริญเป็นพื้นที่ป่าเขา ร้อยละ 95 เป็นที่ราบ ร้อยละ 5 และมี ป่าไม้ ร้อยละ 65 และเป็นพื้นที่ทำกินและภูเขาหัวล้านประมาณ ร้อยละ 35 พื้นที่หมู่บ้านสันเจริญมีอาณาเขต ทางทิศเหนือติดกับบ้านน้ำพรรณ ทิศใต้ติดกับบ้นน้ำกิ ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านน้ำลัก ทิศตะวันตกติดกับบ้านสนามเหนือ
ระยะทางจากหมู่บ้านสันเจริญ ไปยังสถานที่ท่องเที่ยว คือ สวนยาหลวง ระยะทาง 13 กิโลเมตร น้ำตก ระยะทาง 2 กิโลเมตร สวนกาแฟ ระยะทาง 7 กิโลเมตร การเดินทางไปบ้านสันเจริญ จากอำเภอเมือง จังหวัดน่าน การเดินทาง โดยรถยนต์ส่วนบุคคล ใช้เส้นทางหมายเลข 1148 ผ่านที่ว่าการอำเภอท่าวังผา ระยะทางถึงหมู่บ้านประมาณ 76 กิโลเมตร
งานเทศกาลและประเพณี ตรุษจีน เป็นเทศกาลตามประเพณีของหมู่บ้าน จัดขึ้นประมาณเดือนมกราคม ถึงกุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นประเพณีการไหว้เจ้า มีการแสดงรำถาด ลุยไฟ และการมอบของขวัญ ของที่ระลึกให้กัน สินค้าพื้นเมืองแนะนำของหมู่บ้านสันเจริญ เป็นผ้าปักลายเมี่ยน เก้าอี้หวาย มีด หน้าไม้ กระบอกไม้ไผ่ทำเป็นแก้วน้ำดื่ม และร้านค้าแนะนำของหมู่บ้าน ร้านค้าฟุเอ๋ย แซ่ผ่าน บ้านสันเจริญ ตำบลผาทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
สถานที่ท่องเที่ยวของหมู่บ้านที่น่าสนใจ คือ สวนยาหลวง เดิมเป็นที่ปลูกฝิ่นของชาวเขาเผ่าเย้า มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,650 เมตร สามารถจะมองเห็นทัศนียภาพของจังหวัดน่าน และพะเยา น้ำออกรู เป็นสถานที่ที่มีตาน้ำขนาดใหญ่ และใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีน้ำไหลออกตลอดปี เป็นน้ำตก และลำธารใส มีปลาภูเขา บริเวณแอ่งน้ำออกรู ซึ่งเป็นต้นน้ำ จำนวนมาก
สถานที่พักแรมในหมู่บ้าน เป็นสวนกาแฟ เป็นกระท่อมชาวบ้าน และกระท่อม บริเวณจุดชมวิว ค่าบริการ ราคาที่พักคืนละ 100 บาท/หลัง/คืน

บ้านสองแคว

|0 ความคิดเห็น
บ้านสองแคว หมู่ที่ 5 ตำบลสะเนียน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน หมู่บ้านเดิม ย้ายออกมาจากบ้านโป่งอ่าง ปี พ.ศ 2511 ตั้งหมู่บ้านสองแควปี 2511 สภาพทั่วไปทางภูมิศาสตร์ มีภูเขาป่าไม้ล้อมรอบหมู่บ้าน มีลำห้วยสะเนียน ห้วยสะไลต์รอบหมู่บ้าน อาณาเขตหมู่บ้าน
บ้านสองแคว ทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านห้วยระพี ทิศใต้ติดต่อกับตำบลเรือง ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านน้ำโค้ง ทิศตะวันตกติดต่อกับ บ้านปางเป๋ย
ระยะทางจากหมู่บ้านไปยังศูนย์วัฒนธรรมหมู่บ้าน ระยะทาง 300 เมตร หมู่บ้านไปป่าชุมชน ระยะทาง 300 เมตร และไปน้ำตก ป็นระยะทาง 500 เมตร
งานเทศกาลกินข้าวใหม่ จัดขึ้นประมาณเดือนกันยายน ถึงเดือนตุลาคมของทุกปี บริเวณที่จัดงานจัดในหมู่บ้านทุกหลังคาเรือน มีการอวยพรข้าวใหม่ ตามประเพณีชนเผ่า เทศกาลขึ้นปีใหม่ม้ง จัดขึ้นเดือนธันวาคม ในงานปีใหม่มีกิจกรรมการละเล่นการโยนลูกช่วง การร้องเพลงอวยพร การเล่นลูกข่าง การเป่าแคน การแต่งกายชุดประจำเผ่าทั้งหมู่บ้าน ผลิตภัณฑ์ในหมู่บ้าน ที่เป็นที่สนใจ คือผลิตภัณฑ์ผ้าเขียนลายม้งโบราณ , ผ้าปักม้ง
การเดินทาง ไปหมู่บ้านสองแควโดยรถยนต์โดยสารประจำทางน่าน-พะเยา ออกจากสถานี ขนส่งจังหวัดน่าน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาที การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว ออกจากจังหวัดน่าน ไปหมู่บ้านสองแควระยะทางประมาณ 19 กิโลเมตร
สถานที่ท่องเที่ยว น้ำตกกลัวตั๋ว น้ำตกกลัวกตั๋วเกิดจากลำห้วยสะเนียน อยู่ห่างจากหมู่บ้าน ประมาณ 500 เมตร สถานที่ท่องเที่ยว ศูนย์วัฒนธรรมชนเผ่า-ป่าชุมชน เป็นศูนย์รวบรวมเครื่องมือเครื่องใช้ และหัตถกรรม ตลอดถึงวิธีชีวิตของชนเผ่าไว้ให้ดู และศึกษา ตั้งอยู่ห่างจากหมู่บ้าน 300 เมตร